Grid posts | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

HIA ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

ข้อมูลบทความ

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2250 ที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในกฎหมายไม่กี่ฉบับในประเทศไทยที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุด และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ซึ่งครอบคลุมทั้ง เรื่องสิทธิ หน้าที่และความมั่นคงด้านสุขภาพ กระบวนการมีส่วนร่วม และกลไกการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรา ซึ่งว่าด้วยสิทธิของประชาชนในการร้องขอให้มีและเข้าร่วมกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

HIA ในสถาบันการศึกษา

ข้อมูลบทความ

บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเริ่มขึ้นเมื่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้จัดตั้งแผนงานวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (แผนงาน HPP-HIA) โดยในปี พ.ศ. 2545 แผนงานฯ ดังกล่าวได้ขยายเครือข่ายการดำเนินงานมายังระดับภูมิภาค โดยมีเครือข่ายภูมิภาคในภาคเหนืออยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคกลางที่ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคใต้ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประสบการณ์การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในต่างประเทศ

ข้อมูลบทความ

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เป็นหน่วยงานเริ่มต้นและหน่วยงานหลักในการศึกษาวิจัยขั้นพื้นฐานและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในระยะเริ่มแรก รวมทั้งกระตุ้นและเสนอแนะแนวทางให้แก่ประเทศสมาชิก และสถาบันการเงินระหว่างประเทศให้มีความรับผิดชอบต่อการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ซึ่งทำให้มีการนำหลักการและกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยสามารถแบ่งแนวทางการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพได้เป็น 2 แนวทางหลัก คือ

ประสบการณ์การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในประเทศไทย

ข้อมูลบทความ

ในอดีตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA) ในประเทศไทยถูกตีความว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ซึ่งเป็นกลไกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ต่อมามีการแก้ไขฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2521 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2522 และฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแก้ไขปรับปรุงในปี พ.ศ. 2535 EIA ตามกฎหมายฉบับนี้มีฐานะเป็นเครื่องมือประกอบการอนุมัติหรืออนุญาตการดำเนินโครงการ

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลบทความ

กฎบัตรออตตาวา ที่เกิดขึ้นจากการประชุมนานาชาติ ครั้งที่ ๑ เรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาพ : การเคลื่อนสู่การสาธารณสุขแนวใหม่” เมื่อปี ๒๕๒๙ ที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ได้นำเสนอกลยุทธ์แห่งการสร้างเสริมสุขภาพไว้ ๕ ประการ ซึ่ง ๑ ใน ๕ นั้นคือ “การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build Healthy Public Policy)”

ธรรมนูญระบบสุขภาพแห่งชาติ

ข้อมูลบทความ

การปฏิรูประบบสุขภาพให้เป็นไปในแนวทางที่เห็นพ้องต้องกันและมีเอกภาพนับว่าเป็นเจตนารมณ์และพันธะร่วมกันของสังคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การร่วมกันฝัน ร่วมกันคิด ร่วมกันเรียนรู้ ร่วมกันขับเคลื่อนและได้รับประโยชน์ร่วมกันล้วนเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขององคาพยพทางด้านสุขภาพบนเส้นทางเดินที่ยาวไกล และ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” เป็นหนึ่งในสิ่งสร้างสรรค์ที่งอกงามอย่างมีคุณค่า ยิ่งถ้าหากสังคมช่วยกันนำไปขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่สุขภาวะได้อย่างมั่นคงนั่นแสดงว่าความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมนูญได้บังเกิดขึ้นจริง กระบวนการจัดทำอย่างเป็นระบบ ทำให้ทุกภาคส่วนมีความสำคัญและมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม จนได้ส