เปิด 6 วาระสำคัญ บนเวที สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
นายเจษฎา มิ่งสมร ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ (คจ.สช.) เปิดเผยว่า การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗พ.ศ.๒๕๕๗จัดระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ธ.ค.
นายเจษฎา มิ่งสมร ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ (คจ.สช.) เปิดเผยว่า การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๗พ.ศ.๒๕๕๗จัดระหว่างวันที่ ๒๔-๒๖ธ.ค.
วานนี้ (19 ธ.ค.2557) ที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้มีพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) อันเป็นความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การสร้างสุขภาวะแก่ประชาชนและสังคมไทยลงนามระหว่าง น.พ.อำพลจินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กับ รศ.ดร.กัมปนาทภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี น.พ.วิพุธพูลเจริญ ประธานกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ร่วมเป็นสักขีพยาน
ตราสัญญลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ตัวอักษร ส และ ช - แทนชื่อย่อขององค์กร ที่ผ่านมาหลายๆ ปี ตัวอักษร ส และ ช จะมีรูปร่างหน้าตาเป็นสีบางๆ ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ซึ่ง ณ ปี 2560 มาบรรจบครบรอบ 10 ปี ตัวอักษร ส และ ช ได้มีความเด่นชัด ชัดเจน เพราะองค์กร สช. จะไม่ซ่อนตัว เพราะบทบาทหน้าที่ของ สช. คือ สร้างสรรค์นโยบายสาธารณะให้กับประเทศ
สามขา - โลโก้ (เมื่อปี 52-59) ขาของโลโก้จะแยกจากกัน เป็น 3 ขา และมีความหมายว่า สามภาคส่วน (ภาควิชาการ/วิชาชีพ ภาครัฐ/การเมือง ภาคประชาสังคม) ซึ่งมาในปี 2560 มีความหมาย 2 ลักษณะ
การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญต่อรากฐานของวัฒนธรรมไทย มนุษย์และสังคม น้อยลง ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ขาดสมดุล ดังนั้นสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านวัตถุ ความมั่งคั่ง ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ จึงมิใช่คำตอบสุดท้ายของการมีสุขภาพ หากแต่เป็นการพัฒนาที่ต้องอาศัยหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชี้แนะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด
พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติเรื่องสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพของประชาชนไว้หลายประการ ดังปรากฏในมาตรา 5 -12
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ร่วมกันรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพดังกล่าว รวมถึงการเผยแพร่สื่อสารต่อสังคมเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ในส่วนของสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพทั้ง 8 มาตรา มีมาตรา 12 เพียงมาตราเดียวที่มีการจัดทำกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการรองรับการปฏิบัติ
สมัชชาสุขภาพ คือ “กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม”
สมัชชาสุขภาพ หมายถึง กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ หรือความมีสุขภาพของประชาชน โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วม
สมัชชาสุขภาพ มี ๓ ประเภท ๑) สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่: ใช้อาณาบริเวณที่แสดงขอบเขตเป็นตัวตั้งในการดำเนินการ
|