วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หลายชุมชนทั้งในเขตเมืองและชนบทต่างต้องหาวิธีจัดการเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากนี้ให้ได้ เนื่องจากปัญหาปากท้องเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม
วิกฤตโรคระบาดและผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ผสมกับวิกฤตรัฐธรรมนูญและการเมืองกระทบต่อการจัดการและศรัทธาของคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศ ทำให้เกิดคนจนและประชากรเปราะบางกลุ่มใหม่ ถือเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตและซ้อนวิกฤตที่ยากแก่การล้มแล้วจะลุกไว ถ้าขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และสมัชชาเฉพาะประเด็น หรือเฉพาะพื้นที่ เป็นตัวอย่างของการเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมพัฒนานโยบาย กำหนดอนาคตของตนเองและของพื้นที่ ผมขอชวนเพื่อนๆ ติดตามความคืบหน้าและลงรายละเอียดเพิ่มเติมของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๓ เพราะงานใกล้งวดเข้ามาทุกทีแล้วครับ
คมส. เห็นชอบผลักดัน ‘การแบนแร่ใยหิน’ เป็นวาระแห่งชาติ ให้ สธ.นำร่องหน่วยงานรัฐเป็นต้นแบบ ‘ยกเลิกการใช้แร่ใยหิน’ และให้ประกาศ ‘โรคที่เกิดจากเหตุแร่ใยหิน’ เป็นกลุ่มโรคสำคัญ พร้อมเคาะแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2564 - 2565 เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ สร้างพื้นที่กลางเชื่อมโยงข้อมูลและความร่วมมือ หวังสร้างสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน
คจ.คส. จัดเวทีเสวนา CPTPP ประเด็น ควรเข้าร่วมอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืช (UPOV1991) หรือไม่ นักกฎหมายวิเคราะห์เกษตรกรจะถูก ‘ริบสิทธิดั้งเดิม’ หลายอย่าง ขณะที่นักวิชาการแนะเร่งพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ-สมุนไพรไทย ส่งเสริมและยกระดับการวิจัยอย่างเป็นระบบ พร้อมเสนอต่อรองเงื่อนไขทำแบบ JTEPA
วันนี้ (1 ตุลาคม 2563) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นำโดย นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สช. ร่วมประกาศเริ่มแผนการดำเนินงาน สช. ประจำปีงบประมาณ 2564 และการขับเคลื่อน Flagship ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข