Grid posts | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ‘กระจายอำนาจ’ ให้ท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมกันจัดการภัยพิบัติ

มีแง่งามอีกจำนวนไม่น้อยให้เจาะลึก เมื่อพูดถึงในเรื่องการรับมือวิกฤตการณ์ หากแต่สำหรับการสนทนากับ ไมตรี จงไกรจักร์ ประธานมูลนิธิชุมชนไท ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) สัดสวนผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้ซึ่งอุทิศแรงกายและแรงใจกว่าครึ่งค่อนชีวิต เพื่อเสริมศักยภาพชุมชนให้พร้อมเผชิญเหตุภัยพิบัติได้ด้วยตนเองแล้ว

คงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะพูดคุยกันในเชิงวิพากษ์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาแบบทะลุทะลวงตรงเป้าประสงค์

 

Story of ‘ชมภู’ หลักประกันความมั่นคง ในสถานการณ์ที่ไม่มั่นคง

ย่างเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน ใครหลายคนคงรอคอยการมาเยือนของลมหนาว และเตรียมอำลาฤดูฝนที่ตกลงมาอย่างหนักหน่วงในช่วงที่ผ่านมา

สมการรับมือ ‘อนาคตไล่ล่า’ ต้นทุนชุมชน + กระบวนการมีส่วนร่วม

ในวันที่โลกผันผวน เกิดเป็นวิกฤตการณ์ระลอกแล้วระลอกเล่า นับจากความร้อนแล้งของปรากฏการณ์เอลนีโญ ไปสู่ห่าฝนพายุในปรากฏการณ์ลานีญา และเพียงไม่กี่องศาฟาเรนไฮต์ของอุณหภูมิโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นทุกขณะ ได้ส่งผลกระทบให้เกิดภัยพิบัติและสร้างความสั่นสะเทือนต่อประชาชนในหลายแง่มุม