Grid posts | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ถกโครงสร้างกรุยทาง สถาปนาองค์ความรู้

   คณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติเปิดประชุมนัดที่ 2 อภิปรายเข้มข้น “กรอบคิด-โครงสร้าง” การสถาปนาองค์ความรู้ท้องถิ่นด้านสุขภาพ พร้อมนำเสนอความคืบหน้าเข้าสู่เวทีวิชาการในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ช่วงปลายปีนี้
 
   การประชุมคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพแห่งชาติ นัดที่ 2 ของปี 2562 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ซึ่งมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน ได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการไว้อาลัยแก่ ผศ.ภญ.สำลี ใจดี กรรมการผู้ล่วงลับ ก่อนจะเข้าสู่การรายงานผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการจัดการความรู้ภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท
 

แจงเหตุเข้าใจผิดไม่บรรจุแพทย์ ปี 64 ‘แค่ สธ. เสนอแผนระยะแรก’ หมอมงคล ยันต้องบรรจุอีก 10 ปีจึงสมดุล

   จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าภายหลังปี 2564 จะไม่มีตำแหน่งข้าราชการให้แก่แพทย์จบใหม่ ซึ่งเป็นไปตามแผนของกระทรวงสาธารณสุขในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย (ดำเนินการเฉพาะระยะที่ 1 ปีพ.ศ.2560-2564) จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กว้างขวางนั้น
 

ขึ้นรูป ร่างระเบียบวาระ ลุ้น คจ.สช.เคาะ ‘ทบทวนแร่ใยหิน”

   ที่ประชุมคณะอนุกรรมการวิชาการ นัดที่ 3 เตรียมเสนอ คจ.สช. พิจารณา “ทบทวนมติสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” และเห็นพ้องเดินหน้า “มลภาวะ- PM 2.5” และ “สุขภาพสตรีและครอบครัว”
 

‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ในสังคม

   เวที ‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ชี้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกำลังสร้างวิกฤตต่อความหมายทั้งกับชีวิตและความตาย นักวิชาการย้ำความหมายของความตายเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและสัมพันธ์กับคำถามว่า ‘ชีวิตที่ดีคืออะไร?’
 
   วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัด เสวนา REST IN PEACE 4 : วิกฤตความหมายในความตาย จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่างๆ
 

สานพลังเอกชน-รัฐ-ชุมชน ร่วมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างชุมชนเข้มแข็ง

   เวทีสานใจสานพลังว่าด้วยดิจิทัลกับชุมชนเข้มแข็งชวน 80 กว่าชุมชนร่วมเปิดไอเดีย นำเสนอตัวอย่างชุมชนสุดล้ำ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการแพทย์ฉุกเฉินเข้าถึงผู้ป่วยได้เร็วกว่ามาตรฐาน-ทำเกษตรอินทรีย์สุดไฮเทคพร้อมสื่อสารการตลาด ด้านตัวแทนภาครัฐระบุมีงบสนับสนุนจากอย่างน้อย 4 แห่งเปิดให้ยื่นขอ ส่วนภาคเอกชนพร้อมหนุนเทคโนโลยีชุมชน
 

ล็อคเป้า เชื่อมโยง นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ขับเคลื่อนมติฯ

   แม้จะยังไม่พรั่งพร้อมและยังไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน หากแต่ความสำคัญของ “การเดิน” และการใช้ “จักรยาน” ในชีวิตประจำวัน ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในระดับสาธารณะตั้งแต่เมื่อ 7 ปีก่อน ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ประจำปี 2555 ซึ่งได้มีฉันทมติร่วมกันใน มติ 5.1 การจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เรื่อยมาจนถึงขณะนี้ ชัดเจนว่าผลการขับเคลื่อนอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ เห็นได้จากรูปธรรมพื้นที่ตัวอย่างหรือพื้นที่ที่ใช้จักรยานเดินทางในวิถีชีวิตที่กระจายตัวอยู่ตามชุมชนทุกๆ ภูมิภาค