Grid posts | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

โควิด-19 เขย่า ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ เตรียมพัฒนาข้อเสนอรับมือวิกฤติการณ์อนาคต

   การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นประเทศที่สุ่มเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหาร
 

‘อนุทิน’ นั่งหัวโต๊ะถกขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพฯ

   “นายอนุทิน ชาญวีรกูล” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธาน คมส. เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ 2 ชุด ที่ประชุมรับทราบตัวอย่างความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติฯ “รมว.สธ.” ย้ำ เป้าหมายคุมโควิด หน้ากากอนามัยเป็นสิ่งสำคัญ ระบุ จะป่วยกี่คนก็ได้แต่ต้องคัดกรองให้เจอ-รักษาให้หาย
 

ปั้นประเด็นร้อนสู่สมัชชาสุขภาพฯ 13 ‘ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต’

   สช. ชวนภาคีเครือข่ายสุขภาพ ระดมสมองพัฒนาเอกสาร “ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต” หวังขับเคลื่อนนโยบายแบบล่างขึ้นบน ตั้งเป้าสร้าง active citizen สู้ภัย ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาเคาะเป็นร่างระเบียบวาระในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13
 
   แม้ไทยจะมีภาพจำของการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำถึงขั้นถูกยกให้เป็นครัวโลก แต่ในสถานการณ์ไม่ปกติ เช่น โควิด-19 ระบาด ระบบอาหารต่างเต็มไปด้วยอุปสรรคและข้อจำกัดใหม่
 

“โรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน” กับพลังชุมชน

   การประท้วง การร้องเรียน กระทั่งการอภิปรายในรัฐสภาเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้อีสานเป็นไบโอฮับหรือศูนย์กลางฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และตั้งแต่ปี 2558 ก็มียุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย 10 ปี 2558-2569 โดยตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ปลูกอีก 6 ล้านไร่ภายในปี 2569 เพิ่มการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลในภาคอีสานจาก 20 เป็น 30 แห่ง พ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 29 แห่ง
 

สมัชชาพลเมืองตื่นรู้ ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตประชาชนจากวิกฤตโควิด-19

   เมื่อคืนวันที่ ๒ มิถุนายน ที่ผ่านมา สังคมไทยได้สูญเสียนักการแพทย์และสาธารณสุขที่ยิ่งใหญ่ของโลก ศ.นพ.อมร นนทสุต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปูชนียบุคคลผู้วางรากฐานการสาธารณสุขมูลฐานของไทย ผู้ให้กำเนิดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) ที่เป็นกำลังสำคัญช่วยไทยให้พ้นวิกฤตสุขภาพครั้งแล้วครั้งเล่า และพ้นภัยโควิด-19 ท่านอาจารย์จากไปด้วยวัย ๙๒ ปี
 

สมัชชาสุขภาพชัยภูมิ วางแผนเชิงรุก! ‘พาลูกหลานไปโรงเรียนอย่างไร ปลอดภัยจากโควิด-19’

   สมัชชาสุขภาพจังหวัดชัยภูมิเตรียมสนับสนุนองค์ความรู้และจัดเวทีผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพฯ เชิญทุกฝ่ายร่วมสร้างมาตรการ ‘พาลูกหลานไปโรงเรียนอย่างไร ปลอดภัยจากโควิด-19’ หารูปแบบและแนวทางที่เหมาะกับบริบทของแต่ละโรงเรียน วางเป้าเริ่มนำร่อง 4-5 แห่ง
 
   สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้นทุกขณะ จากการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ถึงตอนนี้เริ่มมีการคลายล็อคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ทุกฝ่ายยังต้องให้ความใส่ใจคือการ์ดจะต้องไม่ตก เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดระลอกสอง