มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : เกิดการจัดทำสื่อในรูปแบบต่างๆ และคู่มือเพื่อเผยแพร่แนวทางการนำมาตรการและเครื่องมือทางผังเมือง
4.2 ร่วมกับสถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จัดทำสื่อในรูปแบบต่างๆ และคู่มือเพื่อเผยแพร่แนวทางการนำมาตรการและเครื่องมือทางผังเมืองไปสู่การปฏิบัติอย่างโปร่งใส ให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของทุกภาคส่วน

อ้างอิงมติข้อ 4. ขอให้ กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ เป็นหน่วยงานหลักในการ

รายงานความก้าวหน้า

1. ปี 2564 โครงการแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสู่ความยั่งยืน ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ถอดบทเรียน รวมรวมองค์ความรู้และข้อมูลในการออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะเมืองจากหน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่ายที่มีภารกิจและดำเนินการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม (2) วิเคราะห์กรอบการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอย่างสร้างสรรค์ทั้งในเชิงนโยบายและปฏิบัติ และ (3) สร้างกลไกความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพในประเด็นการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองผ่านโจทย์การพัฒนาพื้นที่สาธารณะในแต่ละพื้นที่ที่มีบริบทที่แตกต่างกัน

2. ปี 2564 โครงการถอดบทเรียนกระบวนการออกแบบและพัฒนาพื้นที่สาธารณะในเขตเมือง ระดับท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาเทศบาลเมืองชัยภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียน เรียบเรียงองค์ความรู้ หลักเกณฑ์ และประเด็นในกระบวนการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่วนท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม ผ่านกรณีศึกษา การออกแบบเทศบาลเมืองชัยภูมิ รวมถึงขยายองค์ความรู้ กลไก และกระบวนการมีส่วนร่วมแนวทางการพัฒนาเมือง หรือการพัฒนาพื้นที่สาธารณะส่วนท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมไปยังพื้นที่อื่นๆ

3. ปี 2565 2565 โครงการปฏิบัติการพัฒนากลไกกระบวนการร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะในเขตเมืองอย่างมีส่วนร่วม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้สนับสนุนศูนย์วิจัยบูรณาการภาพพื้นที่และสังคม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และเครือข่าย WE! PARK โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) นำองค์ความรู้จากการถอดบทเรียนการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองระดับท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลเมืองชัยภูมิ มาเป็นแนวทางพัฒนาออกแบบและพัฒนาพื้นที่สาธารณะโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ให้เกิดการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายและขยายการทำงานเชิงระบบ ภายใต้ปัจจัยต่างๆ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเทศบาล หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง (3) เพื่อเชื่อมประสานหนุนเสริมการทำงานการพัฒนาพื้นที่สาธารณะกับภาคียุทธศาสตร์ต่างๆ ทั้งส่วนกลางและกรุงเทพมหานคร