มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : เกิดมาตรการและเครื่องมือในการสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะที่ดี
2. ขอให้ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) และคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพจังหวัด สภาองค์กรชุมชน รวมถึงกลไกอื่นๆ หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญและสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

อ้างอิงมติข้อ  -

รายงานความก้าวหน้า :  

กรุงเทพมหานคร ตามวิสัยทัศน์กรุงเทพมหานคร  “มหานครแห่งเอเชีย ในปี 2575” ประกอบด้วย ประเด็นวิสัยทัศน์ 6 ด้าน ได้แก่ (1) มหานครปลอดภัย (2) มหานครสีเขียว สะดวกสบาย

(3) มหานครสำหรับทุกคน (4) มหานครกะทัดรัด (5) มหานครประชาธิปไตย และ (6) มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ ได้ถูกแปลงเป็นแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 – 2575) เพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุตามเป้าหมาย

      การพัฒนาพื้นที่สาธารณะจะอยู่ในวิสัยทัศน์ “มหานครสีเขียว สะดวกสบาย” หรือ “Bangkok Green city” เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในประเด็นยุทธศาสตร์ย่อยที่ 2.2 พื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียว กระจายทุกพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งดูดซับมลพิษทางอากาศไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อประชากรหนึ่งคน และมีพื้นที่สีเขียวกระจายครอบคลุม พื้นที่กรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ ภายใต้การดำเนินงานใน 14 โครงการ ได้แก่

1) โครงการสำรวจและประเมินศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ ที่ใช้สร้างเป็นพื้นที่สีเขียว

2) โครงการจัดหาพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียว

3) โครงการพัฒนาพื้นที่ว่างให้เป็นพื้นที่สีเขียวในสวนหย่อม/รูปแบบสวนสาธารณะ

- พัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าในชุมชน ให้เป็นสวนหย่อมขนาดเล็กหรือสวนหมู่บ้าน

- พัฒนาพื้นที่บริจาคจากประชาชนในชุมชน ให้เป็นสวนหย่อมหรือสวนหมู่บ้าน

4) โครงการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่สีเขียวในสวนป่าของประชาชน / รูปแบบสวนผลไม้

5) โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ไม้และระบบนิเวศ ในสวนสาธารณะ

6) โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ไม้และความหลากหลาย ทางชีวภาพในพื้นที่เมือง

7) โครงการคุ้มครองและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในเขตพื้นที่เมือง

8) โครงการออกแบบและก่อสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ต้องมีพื้นที่สีเขียว

9) โครงการอนุรักษ์ต้นไม้ขนาดใหญ่ทั่วกรุงเทพมหานคร (Big tree)

10) โครงการสร้างภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ความหลากหลายของระบบนิเวศในพื้นที่

11) โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่สีเขียว

12) โครงการส่งเสริมและสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนแนวตั้ง ทั้งภายใน และภายนอกอาคารสิ่งก่อสร้าง เช่น โรงแรม สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

13) โครงการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในรูปแบบของสวนสาธารณะอย่างถาวร

14) เพิ่มพื้นที่สีเขียวในโครงการสนับสนุนรูปแบบสวนหย่อมในแต่ละชุมชน และบริหารจัดการโดยชุมชน