มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : การถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาองค์ความรู้ สนับสนุนนวัตกรรม เครื่องมือ และกลไกในการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะในเขตเมืองอย่างเป็นรูปธรรม
11. ขอให้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบ สภาหอการค้าไทย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมอาคารชุดไทย สถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมเมือง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม สนับสนุน การถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาองค์ความรู้ สนับสนุนนวัตกรรม เครื่องมือ และกลไกในการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะในเขตเมืองอย่างเป็นรูปธรรมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนอย่างมีธรรมาภิบาล ที่คนทุกกลุ่ม รวมถึง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงและใช้พื้นที่ได้โดยง่าย (Universal Design)

อ้างอิงมติ -

รายงานความก้าวหน้า

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) : สนช. หรือ NIA ได้สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-based Innovation) ภายใต้แนวคิด“Social Innovation in the City” เพื่อสื่อสารให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของสังคมเมืองในปัจจุบันและการขยายตัวของเมืองในพื้นที่ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคม ความเหลื่อมล้ำของคนในเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการขยายตัวของเมือง ยกระดับคุณภาพชีวิตและดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น และได้กรอบการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และบริบทของย่านนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโต และพร้อมปรับตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป เช่น  1) ในพื้นที่ 7 ย่านของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์ ย่านนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพโยธี ย่านนวัตกรรมปทุมวัน ย่านนวัตกรรมคลองสาน ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท ย่านไซเบอร์เทคกรุงเทพฯ และย่านนวัตกรรมลาดกระบัง 2) ในจังหวัดต่างๆ เช่น  ECC
ที่เทศบาลบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยจัดตั้งเป็นศูนย์นวัตกรรมบ้านฉาง Banchang Innovation Leaning Center เพื่อเป็นจุดเริ่มในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม เป็นต้น และได้ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนา “ดัชนีวัดศักยภาพเมืองในการเป็นเมืองนวัตกรรม (Innovation Index for Inclusive, Sustainable and Connected City)” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้แต่ละเมืองได้นำไปใช้ในการประเมินตนเองถึงศักยภาพด้านระบบนิเวศนวัตกรรมของเมือง ซึ่งแสดงถึงบทบาทและความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ และเพื่อให้ตระหนักถึงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของเมืองต้องสร้างความสมดุลในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และนวัตกรรมเชิงสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม รวมถึงให้ความสำคัญกับนวัตกรรมสีเขียวที่ใส่ใจเรื่องการจัดการกับประเด็นสิ่งแวดล้อม