มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : - เกิดแนวปฏิบัติที่ดี และเป็นรูปธรรม
- เกิดการขยายผลต่อยอด
- เกิดนวัตกรรมและเครื่องมือ มาตรการใหม่ๆ ในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะ
9. ขอให้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับสถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ สนับสนุนการดำเนินการศึกษาวิจัยการพัฒนากลไก เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการทางภาษี มาตรการทางการเงินการคลังและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อสุขภาวะในเขตเมือง

อ้างอิงมติ -

รายงานความก้าวหน้า

1. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) : สนช. หรือ NIA กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานประเด็น “นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) ที่ หมายถึง กิจกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของสังคมเป็นหลัก โดยมีการพัฒนาและเผยแพร่ผ่านองค์กรเพื่อสังคม ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต หรือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม มีผลกระทบในระดับชุมชน หรือส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยได้กำหนดเป้าหมาย “การสร้าง Social Economy ด้วย Social Innovation” เป็นรายปี ได้แก่

- ปี 2560  :  ปีแห่งการสร้าง Social Innovation Platform

- ปี 2561  :  ปีแห่งการสนับสนุนนวัตกรรมตาม Social Issue-based

- ปี 2562  :  ปีแห่งการยกระดับการขยายผลนวัตกรรมเพื่อสังคม

- ปี 2563  :  ปีแห่งการเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านสังคม

- ปี 2564  :  ปีแห่งการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมในการฟื้นฟูประเทศจากภาวะวิกฤติ

- ปี 2565  :  ปีแห่งการขยายผลนวัตกรรมเพื่อสังคมสู่ระดับภูมิภาค

- ปี 2566  :  ปีแห่งการสร้างเครือข่ายและสร้างผลกระทบเชิงสังคม

- ปี 2567  :  ปีแห่งการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคม
      
โดยมีประเด็นนวัตกรรมเชิงสังคมย่อยใน 9 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) ด้านความเชื่อมโยงระหว่าง อาหาร น้ำ และพลังงาน 3) ด้านภาครัฐและการศึกษา 4) ด้านการเงิน การจ้างงาน และสวัสดิการสังคม 5) ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน 6) ด้านความเป็นเมือง 7) ด้านสุขภาพ 8) ด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และ 9) ด้านการจัดการภัยพิบัติ 

 

2. สำนักงานกฎบัตรแห่งชาติ

ได้รับการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ภายใต้โครงการ SG-ABC ดำเนินการโดยคณะวิจัยของสมาคมการผังเมืองไทย มูลนิธิสถาบันการวางแผนประเทศไทย และบริษัท เอเซีย สเปช แพลนนิ่ง จำกัด   ที่มีเจตนารมณ์และเป้าหมายในการออกแบบการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ (New Urban Development Platform) เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรทุกระดับ เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านการพัฒนาเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เป็นไปตามความต้องการของทุกภาคส่วน ด้วยการประยุกต์เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Principles) เกณฑ์การออกแบบเมือง Form-Based Codes เกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบสภาพแวดล้อมด้านพลังงานระดับย่าน (LEED-ND) และเกณฑ์การวางแผนของสมาคมการวางแผนอเมริกา (American Planning Association-APA) รวมทั้งตัวชี้วัดสำคัญของแผนแม่บทการพัฒนาของเมืองต่างๆ และแสดงถึงเจตนารมณ์ ตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย แผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับบริบทและอนาคตของประเทศไทย ตัวอย่างรูปธรรมในการดำเนินงาน เช่น

- คณะกรรมการกฎบัตรอุดรธานี เครือข่ายอุดรธานีในทศวรรษหน้า (UDON2029) โครงการ “การพัฒนารูปแบบกิจกรรมด้านสุขภาพกับการใช้บริการเชิงพื้นที่สาธารณะ ที่สอดคล้องกับการเติบโตของเมืองอย่างชาญฉลาดของจังหวัดอุดรธานี” บนความร่วมมือของสมาคมอสังหาริมทรัพย์ อุดรธานี บริษัทอุดรธานีพัฒนาเมือง สมาคมการผังเมืองไทย เทศบาลนครอุดรธานีและภาคีเครือข่าย  

- คณะทำงานกฎบัตรเชียงใหม่ มีเป้าหมายดำเนินงานใน 10 สาขา ประกอบด้วยสาขาการปรับปรุงฟื้นฟุเมือง สุขภาวะเมือง ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว เกษตรและอาหารปลอดภัย เศรษฐกิจสีเขียว พลังงานเขียว ขนส่งสีเขียว อุตสาหกรรมเขียว  และโครงสร้างพื้นฐานเขียว

- กฎบัตรกรุงเทพมหานคร โดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และ เครือข่ายกฎบัตรแห่งชาติ กำลังดำเนินการยกร่างกฎบัตรกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการจัดทำกฎบัตรย่อยออกเป็น 5 กฎบัตรย่อย ได้แก่ กฎบัตรอโศก-พระรามเก้า กฎบัตรรัตนโกสินทร์ กฎบัตรบางหว้า กฎบัตรเตาปูน-บางโพ และกฎบัตรบางขุนเทียน เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมกันจัดสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่และยกระดับเศรษฐกิจเมืองของภาคมหานคร สร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองนานาชาติที่มีระบบทางกายภาพและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์