Grid posts | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วางแผน “ตายดี” ทางเลือกสร้างสุขปั้นปลาย

   งานสร้างสุขที่ปลายทางครั้งที่ 3 ชวนแพทย์ร่วมเล่าประสบการณ์ว่าครอบครัวควรทำอย่างไรเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรบอกความจริงหรือไม่ บอกข่าวร้ายอย่างไร ตัดสินใจแบบไหนดีในช่วงท้าย ร่างกาย จะทรมานแค่ไหน ฯลฯ รวมถึงแนวทางในภาพใหญ่ที่ควรผลักดันระบบอาสาสมัครและให้ ‘ ชุมชน’ มีส่วนร่วมในเรื่องนี้...
 

เปิดงาน ‘สร้างสุขที่ปลายทาง’ ครั้งที่ 3

   เปิดงาน ‘สร้างสุขที่ปลายทาง’ ครั้งที่ 3 สช. จับมือเครือข่ายยกระดับความเข้าใจสิทธิการตายตามธรรมชาติและการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพฯ ด้าน สธ. เตรียมผลักดันหน่วยบริการแบบประคับประคองใน รพ.- ศูนย์บริการปฐมภูมิในพื้นที่
 

‘สร้างสุขที่ปลายทาง’ ครั้งที่ 3 ครบเครื่องเรื่อง ‘ตายดี’

   เราคงไม่อ้อมค้อมที่จะชักชวนคุณมาร่วมงาน สร้างสุขที่ปลายทาง ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21 ก.พ. 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถ.วิภาวดี กรุงเทพมหานคร
 
   “สร้างสุขที่ปลายทาง” เป็นมหกรรมระดับชาติว่าด้วยการตายดี ที่จะพูดถึงความตายในทุกเหลี่ยมมุม ช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวตาย และการเผชิญวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบสุข
 
   สำหรับใครหลายคน ‘ความตาย’ อาจเป็นสิ่งที่เร้นลับและน่าสะพรึงกลัว แต่ถ้าคุณมีความเข้าใจและพิจารณาความตายด้วยความประณีตแล้ว ความตายคือส่วนเติมเต็มให้ทุกชีวิตสมบูรณ์ เป็นความงอกงามในท้ายที่สุด
 

คลอด ‘ตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ฯ’ ชุดแรกของประเทศไทย

   “สช. – IHPP - ภาคีเครือข่าย” สานพลังสร้างตัวชี้วัดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ฯ ชุดแรกของประเทศไทย เดินหน้าเก็บข้อมูลที่พร้อมทันที
 
   แม้ว่าลึกๆ แล้ว ทุกคนอาจจะออกแบบหรือวาดภาพ “ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์” ไว้ในใจ แต่ทว่านับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยกลับไม่เคยมี “ตัวชี้วัด” ในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ นั่นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตอบให้ได้ว่า ระบบสุขภาพของไทยเดินมาจากจุดไหน และกำลังจะไปที่ไหน หรือระบบสุขภาพของไทยเดินทางมาถึงตรงไหนแล้ว
 

จับสัญญาณรื้อฟื้น FTA ‘ไทย-อียู’

   เปิดวงถก “คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ” นัดแรก เน้นหนักนโยบาย “เมดิคัลฮับ” พร้อมจับตาการรื้อฟื้น FTA ไทย-อียู
 
   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเครื่องต่อรองในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ข้อตกเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) ไทย-สหภาพยุโรปในอดีต ที่แฝงมาด้วยการผูกขาดสิทธิบัตรยา ซึ่งจะกระทบต่อราคายา และการเข้าถึงยาของประชาชนในภาพกว้าง
 

สช.ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตในองค์กรทุกรูปแบบ

   วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2563) ที่ ห้องประชุมสานใจ 1/1 ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) และผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตในองค์กรภายใต้ โครงการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและส่งเสริมคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.